วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เจอสิ่งดีๆก็เก็บมาฝากครับ
วิธีจูนคาร์บูเรเตอร์
ก่อนที่เราจะจูนคาร์บูเรเตอร์เราลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงาน ของคาร์บูเรเตอร์กันก่อนนะครับว่ามันทำงานยังไง ส่วนผสมหนา บาง เป็นยังไงนะครับ แล้วจะมีผลยังไงกับเครื่องยนต์ ไม่งั้นรถวิ่งไม่ออกแน่ครับ

คาร์บูเรเตอร์มีหน้าที่ผสมน้ำมันกับอากาศ ให้พอดีก่อนที่จะเข้าสู่กระบอกสูบและห้องเผาไหม้นะครับ หลักการทำงานของคาร์บูเรเตอร์ก็คือ ให้อากาศไหลผ่านคอคอด(ventury)จะอยู่ส่วนกลางของคาร์บูเรเตอร์ แล้วดูด น้ำมันขึ้นมาตามแรงสุญญากาศ
"ลองส่องจากด้านหน้าเข้าไปดูครับ ตรงกลางจะตีบลงนิดหน่อยนั่นแหละครับ ลองสังเกตุดู"
ดูตามรูปด้านหน้า สังเกตุดูครับตรงกลางจะแคบลง

เมื่ออากาศไหลผ่านส่วนกลาง ที่เรียกว่าคอคอด(ventury)ของคาร์บูจะเกิดแรงสูญญากาศนะครับ ตรงนี้แหละครับสำคัญมากมาดูกันต่อดีกว่าครับ
เมื่ออากาศไหลผ่านคอคอดจะเกิดสุญญากาศ

ดูตามรูปจะเห็นว่าเข็มวัดสุญญากาศ(vacum)จะตีขึ้นสูงสุดบริเวรณคอคอคอด

ตรงบริเวณคอคอดก็จะมีชิ้นส่วนที่สำคัญอีก 3 อย่าง คือ ลูกชัก(idel)
เข็มเร่ง(needle) และนมหนู(needle jet) ตรงนี้แหละครับที่เราจะจูนกัน
เมื่ออากาศไหลผ่านคอคอด(ventury) ก็จะเกิดสุญญากาศ ทำให้ดูดน้ำมันขึ้นมาผสมกับอากาศแล้วก็ไหลเข้าห้องเผาไหม้


โครงสร้างของคาร์บูเรเตอร์
 
 
ห้องลูกลอย (Float Chamber)
น้ำมัน เชื้อเพลิงแก็สโซลีนที่ไหลจะผ่านก๊อกและท่อทางมายังห้องลูกลอยของ คาร์บูเรเตอร์ ซึ่งห้องลูกลอยนี้จะทำหน้าที่สำรองน้ำมันเพื่อจ่ายให้กับวงจรต่างๆใน คาร์บูเรเตอร์ และรักษาระดับน้ำมันในห้องลูกลอยให้คงที่อยู่เสมอ จะประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญดังต่อไปนี้
  • เสื้อห้องลูกลอย น้ำมันเชื้อเพลิงทีไหลจากถัง จะเข้ามาเก็บยังเสื้อห้องลูกลอยเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะจ่ายให้แก่เครื่องยนต์
  • ลูกลอย ทำหน้าที่เปิดและปิดชุดนมหนูลูกลอย โดยลอยขึ้นลงตามระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในห้องลูกลอย นั่นคือเมื่อระดับน้ำมันต่ำลูกลอยก็จะต่ำ เข็มนมหนูจะเปิดให้น้ำมันไหลเข้า เมื่อระดับน้ำมันสูงสุดลูกลอยก็จะดันเข็มนมหนูให้เปิดรูน้ำมัน น้ำมันก็จะหยุดไหลเข้าสู่ห้องลูกลอย และจะเริ่มเปิดอีกเมื่อระดับน้ำมันต่ำลง
  • ชุดนมหนู ลูกลอย ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังเข้าสู่ห้องลูกลอยประกอบ ด้วยเบาะนมหนูและเข็มนมหนู ซึ่งประกอบกันเป็นชุดๆโดยเฉพาะ
  • ท่อล้น ถ้าหากชุดนมหนูลูกลอยเกิดการขัดข้องหรือถ้าเครื่องยนต์เกิดเร่งผิดปกติ แสดงว่าระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในห้องลูกลอยสูงขึ้นเกินความจำเป็น ท่อล้นจะทำหน้าที่ระบายน้ำมันส่วนเกินออกจากห้องลูกลอย
 
ห้องผสม (Mixing Chamber)
   ห้องผสมทำหน้าที่ทั้งผสมและควบคุมอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ให้อัตราส่วนผสมเหมาะกับสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ เป็นการทำงานร่วมกันของวงจรอากาศ วงจรน้ำมันเชื้อเพลิง และวงจรผสม โดยมีชิ้นส่วนที่สำคัญ คือ
  • เสื้อห้องผสม ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดจะผสมกันในห้องนี้ ก่อนที่จะส่งเข้าไปในเครื่องยนต์
  • ลิ้นเร่ง ลิ้นเร่งนี้เป็นแบบลูกสูบ เรียกกันว่า ลูกเร่ง เป็นอุปกรณ์ควบคุมสมรรถนะของเครื่องยนต์ทุกช่วงความเร็ว
  • นมหนู น้ำมัน หรือนมหนูความเร็วสูง ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงมีผลต่อสมรรถนะของเครื่อง ยนต์ที่มีความเร็วสูง อัตราการไหลจะขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลางของรูนมหนู ถ้าขนาดโตอัตราการไหลจะสูงแต่ถ้าขนาดเล็กอัตราการไหลจะต่ำ
  • เข็มเร่งหรือเข็มนมหนู เข็มเร่งปลายด้านหนึ่งจะทำเป็นรูปเรียว ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งทำเป็นร่องไว้ 5 ร่อง เพื่อล็อคตำแหน่งของเข็มเร่งเข้ากับลูกเร่งด้วยแหวนล็อค ตามตำแหน่งที่กำหนด เพื่อควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงความเร็วจากความเร็ว ปานกลางถึงความเร็วสูง เมื่อเข็มเร่งยกสูงขึ้นจะเปิดรูนมหนูใหญ่ขึ้น แต่เมื่อเข็มเร่งลดลงต่ำรูนมหนูจะถูกปิดให้เล็กลง
  • นมหนู เดินเบา ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง ความเร็วเดินเบาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูนมหนูเดินเบา มีผลโดยตรงต่ออัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ช่องทาง ส่วนผสมเดินเบาออก ทำหน้าที่ควบคุมอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ท่อรับอากาศ ที่ความเร็วเดินเบา อัตราส่วนผสมที่ช่องทางนี้จะถูกควบคุมโดยนมหนูเดินเบาและสกรูปรับอากาศ
  • ช่องทาง อากาศช่วย เป็นช่องทางที่เพิ่มปริมาณอากาศให้กับส่วนผสมที่ออกจากช่องทางส่วนผสมเดิน เบาออก เช่น กรณีเครื่องยนต์จะทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นแต่ส่วนผสมไม่เพียงพอ ช่องทางอากาศช่วยก็จะเพิ่มอากาศเพื่อให้ได้ส่วนผสมที่เหมาะกับสภาพการทำงาน ของเครื่องยนต์ โดยผ่านช่องทางอากาศช่วย
  • นมหนู อากาศ ทำหน้าที่เพิ่มปริมาณอากาศให้กับน้ำมันเชื้อเพลิงในวงจรเร่ง เป็นการควบคุมอัตราส่วนผสมและการเป็นฝอยละอองของน้ำมันเชื้อเพลิง
  • สกรูปรับอากาศ ทำหน้าควบคุมปริมาณของอากาศที่เข้ามาทางนมหนู
พอเรารู้หลักการทำงานของคาร์บูเรเตอร์แล้วเราก็มาจูนกันดีกว่าครับ....
ส่วนผสมระหว่างน้ำมันกับอากาศที่พอดีก็คือ อากาศ14.7น้ำมัน1ส่วน ตามทฤษฎีที่เค้าเรียกกันว่า14.7/1   แต่ถ้ารถเดิมๆไม่ได้มีการขยายลูกสูบหรือทำแคมก็ไม่ต้องไปจูนนะครับเพราะ เดิมๆเค้าทำมาพอดีแล้ว แต่สำหรับรถที่ทำแคมหรือขยายขนาดลูกสูบและกระบอกสูบ อากาศจะไหลเข้ากระบอกสูบได้มากกว่าเดิมดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเพิ่มน้ำมัน เข้าไปด้วยการเปลี่ยนนมหนูน้ำมันครับโดยวิธีเพิ่มขนาด    ส่วนอากาศถ้าไหลเข้าไม่ทันกระการดูดของเครื่องก็ต้องอาจจะมีการคว้านคา ร์บู(คว้านด้านหลังนะครับยังไงก็ไม่เสียของ แต่เห็นบางคนชอบไปคว้านปากคาร์บูอันตรายนะครับ คว้านผิดเสียของต้องโยนทิ้งลูกเดียว )
แล้วจะรู้ได้ไงว่าอากาศกับน้ำมันพอดีรึยังตามทฤษฎี 14.7/1 แล้วถ้าส่วนผสมไม่พอดีจะเป็นยังไง?
ส่วนผสมหนา (อากาศน้อยกว่า14/1ลงไป)เครื่องก็จะ สตาร์ทติดง่ายแรงบิดดี(ออกตัวดี)แต่ว่าปลายจะสะดุดเร่งแล้วไม่เนียนลากรอบ ไม่สุด อันนี้ไม่เป็นอันตรายมากครับแต่รถจะวิ่งไม่ค่อยออก ถ้าส่วนผสมหนามากๆสังเกตุที่ควันครับจะดำด้วย รึไม่ก็ลองถอดหัวเทียนมาดูครับถ้าเขี้ยวหัวเทียนดำๆส่วนผสมหนาแน่นอน 
ส่วนผสมบาง (อากาศมากกว่า15/1ขึ้นไป)   ก็จะสตาร์ทติดยากครับโดยเฉพาะตอนเช้าอากาศเย็นๆ บางทีต้องรอให้เครื่องร้อนก่อนรถค่อยวิ่งได้งั้นเครื่องสะดุด ต้องดึงโช๊คด้วย อันนี้ต้นไม่ค่อยมีกำลังแต่ปลายไหลวิ่งดีครับแต่ความร้อนจะสูงลูกสูบอาจทะลุ ได้  ลองถอดหัวเทียนมาดูก่อนครับถ้าใช้หัวเทียนใหม่ใส่เข้าไปแล้วถอดมาดู เขี้ยวห่างรึบิ่น อันนี้ส่วนผสมบางชัวร์ต้องเพิ่มน้ำมัน  ไม่งั้นลูกทะลุแน่
ส่วนผสมพอดี  ถ้าเราจูนได้ส่วนผสมที่พอดีรถก็จะมีกำลังต้นจะจัดปลายก็ไหลบางที่เราก็อาจจะ ต้องใช้ความรู้สึกในการจูนก็คือไม่มีกาการข้างต้นของส่วนผสมหนาหรือบางอย่าง ที่ยกตัวอย่างให้ฟัง ถ่าลองวิ่งแล้วสตาร์ทติดง่าย ต้นจัดปลายไหล ก็ถือว่าส่วนผสมพอดีแล้วครับ  ถอดหัวเทียนมาดูเป็นสีน้ำตาลอ่อนถือว่าใช้ได้ ครับ
               แต่ถ้าจะให้ชัวร์ก็ต้องมีเครื่องมือที่วัดเรียกว่า ออนซิเจนเซ็นเซอร์ ใช้วัดส่วนผสมอากาศกับน้ำมัน(A/F) โดยต่อเซ็นเซอร์ที่คอท่อไอเสีย เมื่อเซ็นได้รับความร้อนจากท่อไอเสียจะแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นค่าทำให้เราทราบ ส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมัน หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ก็คือเมื่อส่วนผสมบางความร้อนเครื่องยนต์จะสูงกว่า ส่วนผสมหนาเซ็นเซอร์ก็แปลงสัญญาณไฟฟ้าออกมาและบอกค่าออกมาเป็นตัวเลขส่วนผสม ระหว่างอากาศกับน้ำมัน(A/F) 
ส่วนที่เราจะปรับแต่งคาร์บู หรือจูนน้ำมัน
-เข็มเร่ง จะมีเบอร์บอกอยู่ ความเรียวยาว - อ้วนป้อม ของเข็มมีผลหมดนะครับ และ สลักล๊อกเข็มเร่ง
-นมหนูเดินเบา(ตัวเล็ก)
-นมหนูกำลัง(ตัวใหญ่)
-สกรูปรับอากาศ (ช่วยแค่ตอนสตาร์ทกับรอบเดินเบา เห็นช่างแถวบ้านเบิ้ลๆเครื่อง แล้วก็จูน บอกว่าจูนแล้วแรงจริงๆแล้วไม่เห็นเกี่ยวเลย ถอดสกรูอากาศออกก็ขี่ได้ )
-ปากคาร์บู สัดส่วนความโตระหว่างปากคาร์บูเรเตอร์กับคอคอด  / ปากแตรก็เกี่ยวครับปากแตรสั้นจะจูนยากครับเพราะอากาศจะแปรปรวน(กระพือ)แต่ ถ้าจูนลงแล้วแรงกว่าปากยาว
-ลูกชักจะมีมุมตัดเป็นองศาลองสังเกตุดูตรงปากทางเข้าคาร์บู  องศานี้อันนี้ก็เกี่ยวกับส่วนผสม ถ้าองศาเอียงมากอันนี้ส่วนผสมจะหนาครับ ถ้าลาดไปเลยส่วนผสมจะบางครับ   มีผลระหว่างรอบกลาง กับรอบสูง(สังเกตุดูถ้าบิดหรือเร่งรอบกลางๆแล้วว๊อดๆอันนี้ก็เกี่ยวครับ
-jet หนูนมหนูพิเศษจะช่วยฉีดน้ำมันในรอบสูง(เป็นรูๆอยู่ด้านบนปากคาร์บูมีบางรุ่น ครับ เช่นคาร์บู ของรถtzr) เนื่องจากเมื่อลูกชักเลื่อนขึ้นสุดส่วนผสมจะบาง เพื่อป้องกันเครื่องกระจายคาร์บูเรเตอร์บางรุ่นจึงมีหนมหนูพิเศษหรือนม หนูjet ช่วย
จริงๆแล้วคาร์บูเรเตอร์ค่อนค่างละเอียดที่ไล่มายาวยืด ทางผู้ผลิตเค้าทำมาดีแล้วครับ ไม่ต้องไปยุ่งมัน เพราะค่อนค่างละเอียดอ่อนมาก แค่ไล่นมหนูก็เหนื่อยแล้วครับ ไม่เหมือนกับพวกหัวฉีดจูนในโน๊ตบุ๊คหนา-บาง สั่งได้ ไม่ต้องวิ่งทีรื้อคาร์บูมาเปลี่ยนนมหนูที กว่าจบจะเหงื่อตกครับ
ดังนั้นเมื่อเรามาจูนคาร์บู  เราก็จะจูนกันมั่วๆไม่ได้ นอกจากจะทดลองวิ่งจริง ถอดหัวเทียนมาดูการเผาไหม้ เราต้องมี A/F 
วัดระหว่างจูนด้วย  โดยเสียบไปที่ท่อไอเสียถ้าส่วนผสมหนา-บาง ก็จะมีไฟเตือนบอก    จะมีตัวเลขวิ่งบอกครับ จูนให้ได้14.7 ถือว่าใช้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น