วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยางรถจักรยานยนต์

เนื่องจากกำลังจะเปลี่ยนยางใหม่ก็เลยศึกษาหาความรู้สะหน่อย

ยางรถจักรยานยนต์


     โครงสร้างยางรถจักรยานยนต์ประกอบด้วย

                  1. ดอกยาง(Tread) หมายถึง ส่วนของยางนอก ซึ่งสัมผัสกับพื้นถนนมีลักษณะเป็นแนวยาวเส้นรอบวง(Tread rib) หรือเป็นบั้งขวางกับเส้นรอบวง หรือเป็นปุ่ม ๆ (Tread block) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้เหมาะกับการใช้งาน

                  2. แก้มยาง(Side wall)  หมายถึง   บริเวณผนังด้านนอกของยาง   ที่อยู่ระหว่างส่วนที่อยู่ระหว่างที่เป็นดอกยาง กับ ขดลวด

                  3. โครงยาง(Carcass)   หมายถึง  โครงสร้างภายในของยางนอก   ซึ่งประกอบด้วยชั้นผ้าใบไม่รวมถึงดอกยาง และแก้มยาง

                  4. ขอบลวด(Bead) หมายถึง ส่วนของยางนอกที่กระชับกับวงล้อเสริมความแข็งแรงด้วยลวดเหล็กกล้า

                  5. คอร์ด(Cord)   หมายถึง     ด้ายที่ทำด้วยเส้นใยหลายเส้นตีเกลียวเข้าด้วยกัน    ใช้สำหรับเป็นส่วนประกอบของ ชั้นผ้าใบ เบลอ์ เบรกเกอร์ ฯลฯ

                  6. ชั้นผ้าใบ(Ply)  หมายถึง  ชั้นของผ้าที่ทำด้วยคอร์ดไนลอน คอร์ดโพลิเอสเตอร์ หรือย่างอื่นแทรกอยู่
ในเนื้อยาง ซ้อนกันจากขอบลวดข้างนึ่งถึงขอบลวดอีกข้างนึ่ง

                  7. ผ้าเสริมหน้ายาง(Braker or Belt)  หมายถึง   ชั้นผ้าใบที่ตัดองศาพิเศษ ทำหน้าที่คล้ายกับเข็มขัด
ประกบบนโครงสร้างของหน้ายาง เพื่อเสริมความแข็งแรงของยางมากขึ้น

                  8. เนื้อยางด้านใน(Inner liner)   หมายถึง    ยางบางด้านใน   ใช้เฉพาะกับยางที่ไม่ใช้ยางในเท่านั้นทำหน้าที่เหมือนยางใน หรือเรียกยางชนิดนี้ว่า Tubeless

     การเรียกชื่อขนาดยางนอกและความหมายมี 2 แบบที่ใช้ในปัจจุบัน

     1. แบบเดิมหรือระบบอังกฤษ
   อธิบายขนาด และโครงสร้าง   ประกอบด้วย   ความกว้างของยางนอก เส้นผ่าศูนย์กลาง ระบุเป็นนิ้ว และอัตราชั้นผ้าใบ
     เช่น 2.50 – 17 4PR
     2.50 ความกว้างของยาง
     17 เส้นผ่าศูนย์กลางยางเท่ากับ 17 นิ้ว
     4PR อัตราชั้นผ้าใบเท่ากับ 4 หรือเทียบเท่ากับผ้าใบมาตรฐาน 4 ชิ้น

 
  
   


2. แบบเมริกซีรี่
   อธิบายขนาดและโครงสร้างประกอบด้วย ความกว้างของยางนอก ระบบมิลลิเมตร
     (เครื่องหมาย / อัตราส่วนลักษณะยาง และดัชนีการรับโหลดและสัญลักษณ์ความเร็ว)

     เช่น 80 / 90 - 17 49P

     80 ความกว้างของยาง
     90 อัตราส่วนลักษณะยาง % (ความสูงของยาง)
     17 เส้นผ่าศูนย์กลางยางเท่ากับ 17 นิ้ว
     49 ดัชนีน้ำหนัก “49” สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุด 185 กิโลกรัม
     P สัญลักษณ์ความเร็วระดับ P ใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง
   
     อธิบายเพิ่ม

     80/90-17 49P
    
     หมายความว่า
     ความกว้างของยางเท่ากับ 80 มิลลิเมตร
     ความสูงของยางเท่ากับ 72 มิลลิเมตร หรือเท่ากับ 90% ของหน้ายาง
 
 

    *ความกว้างของยางไม่ใช่หน้าสัมผัสถนน นะครับ*
*และแก้มยางก็คือความสูงซึ่งวัดจากกระทะล้อครับ*
ตารางเปรียบเทียบดัชนีการรับโหลด
ดัชนี   น้ำหนักรับได้                  
           กิโลกรัม                  
0            45                  
1            46.2                  
2            47.5                  
3            48.7                  
4            50                  
5            51                  
6            53                  
7            54.5                  
8            56                  
9            58                  
10          60                  
11          61.5                  
12          63                  
13          65                  
14         67                  
15         69                  
16         71                  
17         73                  
18         75                  
19         77.5                  
20         80                  
21         82.5                  
22         85                  
23         87.5                  
24         90                  
25         92.5                  
26         95                  
27         97.5                  
28       100                  
29       103                  
30       106                  
31       109                  
32       112                  
33       115                  
34       118                  
35       121                  
36       125                  
37       128                  
38       132                  
39       136                  
40       140                  
41       145                  
42       150                  
43       155                  
44       160                  
45       165                  
46       170                  
47       175                  
48       180                  
49       185                  
50       190                  
51       195                  
52       200                  
53       206                  
54       212                  
55       218                  
56       224                  
57       230                  
58       236                  
59       243                  
60       250                  
61       257                  
62       265                  
63       272                  
64       280                  
65       290                  
66       300                  
67       307                  
68       315                  
69       325                  
70       335                  
71       345                  
72       355                  
73       365                  
74       375                  
75       387                  
76       400                  
77       412                  
78       425                  
79       437                  
80       450                  
81       462                  
82       475                  
83       487                  
84       500                  
85       515                  
86       530                  
87       545                  
88       560                  
89       580                  
   

     ดัชนีสัญลักษณ์ความเร็ว

สัญลักษณ์ความเร็ว   กม. / ชม.
J                        100
K                        110
L                        120
M                        130
N                        140
P                        150
Q                        160
R                        170
S                        180
T                        190
U                        200
H                        210
V                        240


     หน้าที่ของยางรถจักรยานยนต์

     1. รักษาทิศทางของการขับขี่ได้อย่างต้องการ
     2. ลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนในการขับขี่
     3. รับน้ำหนักของรถจักรยานยนต์และน้ำหนักบรรทุก
     4. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดแรงม้าในการขับเคลื่

     การใช้งานอย่างถูกต้อง

     1. เติมลมให้พอดีกับยางแต่ละรุ่น
     2. ไม่ขับขี่ทับน้ำมัน และหลีกเลี่ยงพื้นที่ขรุขระ
     3. ไม่เบรคแบบรุนแรงและกระทันหัน
     4. ไม่ออกรถล้อฟรี หรือหมุนล้อฟรี
     5. ไม่ขับรถเร็วเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น