วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เจอสิ่งดีๆก็เก็บมาฝากครับ
วิธีจูนคาร์บูเรเตอร์
ก่อนที่เราจะจูนคาร์บูเรเตอร์เราลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงาน ของคาร์บูเรเตอร์กันก่อนนะครับว่ามันทำงานยังไง ส่วนผสมหนา บาง เป็นยังไงนะครับ แล้วจะมีผลยังไงกับเครื่องยนต์ ไม่งั้นรถวิ่งไม่ออกแน่ครับ

คาร์บูเรเตอร์มีหน้าที่ผสมน้ำมันกับอากาศ ให้พอดีก่อนที่จะเข้าสู่กระบอกสูบและห้องเผาไหม้นะครับ หลักการทำงานของคาร์บูเรเตอร์ก็คือ ให้อากาศไหลผ่านคอคอด(ventury)จะอยู่ส่วนกลางของคาร์บูเรเตอร์ แล้วดูด น้ำมันขึ้นมาตามแรงสุญญากาศ
"ลองส่องจากด้านหน้าเข้าไปดูครับ ตรงกลางจะตีบลงนิดหน่อยนั่นแหละครับ ลองสังเกตุดู"
ดูตามรูปด้านหน้า สังเกตุดูครับตรงกลางจะแคบลง

เมื่ออากาศไหลผ่านส่วนกลาง ที่เรียกว่าคอคอด(ventury)ของคาร์บูจะเกิดแรงสูญญากาศนะครับ ตรงนี้แหละครับสำคัญมากมาดูกันต่อดีกว่าครับ
เมื่ออากาศไหลผ่านคอคอดจะเกิดสุญญากาศ

ดูตามรูปจะเห็นว่าเข็มวัดสุญญากาศ(vacum)จะตีขึ้นสูงสุดบริเวรณคอคอคอด

ตรงบริเวณคอคอดก็จะมีชิ้นส่วนที่สำคัญอีก 3 อย่าง คือ ลูกชัก(idel)
เข็มเร่ง(needle) และนมหนู(needle jet) ตรงนี้แหละครับที่เราจะจูนกัน
เมื่ออากาศไหลผ่านคอคอด(ventury) ก็จะเกิดสุญญากาศ ทำให้ดูดน้ำมันขึ้นมาผสมกับอากาศแล้วก็ไหลเข้าห้องเผาไหม้


โครงสร้างของคาร์บูเรเตอร์
 
 
ห้องลูกลอย (Float Chamber)
น้ำมัน เชื้อเพลิงแก็สโซลีนที่ไหลจะผ่านก๊อกและท่อทางมายังห้องลูกลอยของ คาร์บูเรเตอร์ ซึ่งห้องลูกลอยนี้จะทำหน้าที่สำรองน้ำมันเพื่อจ่ายให้กับวงจรต่างๆใน คาร์บูเรเตอร์ และรักษาระดับน้ำมันในห้องลูกลอยให้คงที่อยู่เสมอ จะประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญดังต่อไปนี้
  • เสื้อห้องลูกลอย น้ำมันเชื้อเพลิงทีไหลจากถัง จะเข้ามาเก็บยังเสื้อห้องลูกลอยเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะจ่ายให้แก่เครื่องยนต์
  • ลูกลอย ทำหน้าที่เปิดและปิดชุดนมหนูลูกลอย โดยลอยขึ้นลงตามระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในห้องลูกลอย นั่นคือเมื่อระดับน้ำมันต่ำลูกลอยก็จะต่ำ เข็มนมหนูจะเปิดให้น้ำมันไหลเข้า เมื่อระดับน้ำมันสูงสุดลูกลอยก็จะดันเข็มนมหนูให้เปิดรูน้ำมัน น้ำมันก็จะหยุดไหลเข้าสู่ห้องลูกลอย และจะเริ่มเปิดอีกเมื่อระดับน้ำมันต่ำลง
  • ชุดนมหนู ลูกลอย ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังเข้าสู่ห้องลูกลอยประกอบ ด้วยเบาะนมหนูและเข็มนมหนู ซึ่งประกอบกันเป็นชุดๆโดยเฉพาะ
  • ท่อล้น ถ้าหากชุดนมหนูลูกลอยเกิดการขัดข้องหรือถ้าเครื่องยนต์เกิดเร่งผิดปกติ แสดงว่าระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในห้องลูกลอยสูงขึ้นเกินความจำเป็น ท่อล้นจะทำหน้าที่ระบายน้ำมันส่วนเกินออกจากห้องลูกลอย
 
ห้องผสม (Mixing Chamber)
   ห้องผสมทำหน้าที่ทั้งผสมและควบคุมอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ให้อัตราส่วนผสมเหมาะกับสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ เป็นการทำงานร่วมกันของวงจรอากาศ วงจรน้ำมันเชื้อเพลิง และวงจรผสม โดยมีชิ้นส่วนที่สำคัญ คือ
  • เสื้อห้องผสม ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดจะผสมกันในห้องนี้ ก่อนที่จะส่งเข้าไปในเครื่องยนต์
  • ลิ้นเร่ง ลิ้นเร่งนี้เป็นแบบลูกสูบ เรียกกันว่า ลูกเร่ง เป็นอุปกรณ์ควบคุมสมรรถนะของเครื่องยนต์ทุกช่วงความเร็ว
  • นมหนู น้ำมัน หรือนมหนูความเร็วสูง ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงมีผลต่อสมรรถนะของเครื่อง ยนต์ที่มีความเร็วสูง อัตราการไหลจะขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลางของรูนมหนู ถ้าขนาดโตอัตราการไหลจะสูงแต่ถ้าขนาดเล็กอัตราการไหลจะต่ำ
  • เข็มเร่งหรือเข็มนมหนู เข็มเร่งปลายด้านหนึ่งจะทำเป็นรูปเรียว ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งทำเป็นร่องไว้ 5 ร่อง เพื่อล็อคตำแหน่งของเข็มเร่งเข้ากับลูกเร่งด้วยแหวนล็อค ตามตำแหน่งที่กำหนด เพื่อควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงความเร็วจากความเร็ว ปานกลางถึงความเร็วสูง เมื่อเข็มเร่งยกสูงขึ้นจะเปิดรูนมหนูใหญ่ขึ้น แต่เมื่อเข็มเร่งลดลงต่ำรูนมหนูจะถูกปิดให้เล็กลง
  • นมหนู เดินเบา ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง ความเร็วเดินเบาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูนมหนูเดินเบา มีผลโดยตรงต่ออัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ช่องทาง ส่วนผสมเดินเบาออก ทำหน้าที่ควบคุมอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ท่อรับอากาศ ที่ความเร็วเดินเบา อัตราส่วนผสมที่ช่องทางนี้จะถูกควบคุมโดยนมหนูเดินเบาและสกรูปรับอากาศ
  • ช่องทาง อากาศช่วย เป็นช่องทางที่เพิ่มปริมาณอากาศให้กับส่วนผสมที่ออกจากช่องทางส่วนผสมเดิน เบาออก เช่น กรณีเครื่องยนต์จะทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นแต่ส่วนผสมไม่เพียงพอ ช่องทางอากาศช่วยก็จะเพิ่มอากาศเพื่อให้ได้ส่วนผสมที่เหมาะกับสภาพการทำงาน ของเครื่องยนต์ โดยผ่านช่องทางอากาศช่วย
  • นมหนู อากาศ ทำหน้าที่เพิ่มปริมาณอากาศให้กับน้ำมันเชื้อเพลิงในวงจรเร่ง เป็นการควบคุมอัตราส่วนผสมและการเป็นฝอยละอองของน้ำมันเชื้อเพลิง
  • สกรูปรับอากาศ ทำหน้าควบคุมปริมาณของอากาศที่เข้ามาทางนมหนู
พอเรารู้หลักการทำงานของคาร์บูเรเตอร์แล้วเราก็มาจูนกันดีกว่าครับ....
ส่วนผสมระหว่างน้ำมันกับอากาศที่พอดีก็คือ อากาศ14.7น้ำมัน1ส่วน ตามทฤษฎีที่เค้าเรียกกันว่า14.7/1   แต่ถ้ารถเดิมๆไม่ได้มีการขยายลูกสูบหรือทำแคมก็ไม่ต้องไปจูนนะครับเพราะ เดิมๆเค้าทำมาพอดีแล้ว แต่สำหรับรถที่ทำแคมหรือขยายขนาดลูกสูบและกระบอกสูบ อากาศจะไหลเข้ากระบอกสูบได้มากกว่าเดิมดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเพิ่มน้ำมัน เข้าไปด้วยการเปลี่ยนนมหนูน้ำมันครับโดยวิธีเพิ่มขนาด    ส่วนอากาศถ้าไหลเข้าไม่ทันกระการดูดของเครื่องก็ต้องอาจจะมีการคว้านคา ร์บู(คว้านด้านหลังนะครับยังไงก็ไม่เสียของ แต่เห็นบางคนชอบไปคว้านปากคาร์บูอันตรายนะครับ คว้านผิดเสียของต้องโยนทิ้งลูกเดียว )
แล้วจะรู้ได้ไงว่าอากาศกับน้ำมันพอดีรึยังตามทฤษฎี 14.7/1 แล้วถ้าส่วนผสมไม่พอดีจะเป็นยังไง?
ส่วนผสมหนา (อากาศน้อยกว่า14/1ลงไป)เครื่องก็จะ สตาร์ทติดง่ายแรงบิดดี(ออกตัวดี)แต่ว่าปลายจะสะดุดเร่งแล้วไม่เนียนลากรอบ ไม่สุด อันนี้ไม่เป็นอันตรายมากครับแต่รถจะวิ่งไม่ค่อยออก ถ้าส่วนผสมหนามากๆสังเกตุที่ควันครับจะดำด้วย รึไม่ก็ลองถอดหัวเทียนมาดูครับถ้าเขี้ยวหัวเทียนดำๆส่วนผสมหนาแน่นอน 
ส่วนผสมบาง (อากาศมากกว่า15/1ขึ้นไป)   ก็จะสตาร์ทติดยากครับโดยเฉพาะตอนเช้าอากาศเย็นๆ บางทีต้องรอให้เครื่องร้อนก่อนรถค่อยวิ่งได้งั้นเครื่องสะดุด ต้องดึงโช๊คด้วย อันนี้ต้นไม่ค่อยมีกำลังแต่ปลายไหลวิ่งดีครับแต่ความร้อนจะสูงลูกสูบอาจทะลุ ได้  ลองถอดหัวเทียนมาดูก่อนครับถ้าใช้หัวเทียนใหม่ใส่เข้าไปแล้วถอดมาดู เขี้ยวห่างรึบิ่น อันนี้ส่วนผสมบางชัวร์ต้องเพิ่มน้ำมัน  ไม่งั้นลูกทะลุแน่
ส่วนผสมพอดี  ถ้าเราจูนได้ส่วนผสมที่พอดีรถก็จะมีกำลังต้นจะจัดปลายก็ไหลบางที่เราก็อาจจะ ต้องใช้ความรู้สึกในการจูนก็คือไม่มีกาการข้างต้นของส่วนผสมหนาหรือบางอย่าง ที่ยกตัวอย่างให้ฟัง ถ่าลองวิ่งแล้วสตาร์ทติดง่าย ต้นจัดปลายไหล ก็ถือว่าส่วนผสมพอดีแล้วครับ  ถอดหัวเทียนมาดูเป็นสีน้ำตาลอ่อนถือว่าใช้ได้ ครับ
               แต่ถ้าจะให้ชัวร์ก็ต้องมีเครื่องมือที่วัดเรียกว่า ออนซิเจนเซ็นเซอร์ ใช้วัดส่วนผสมอากาศกับน้ำมัน(A/F) โดยต่อเซ็นเซอร์ที่คอท่อไอเสีย เมื่อเซ็นได้รับความร้อนจากท่อไอเสียจะแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นค่าทำให้เราทราบ ส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมัน หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ก็คือเมื่อส่วนผสมบางความร้อนเครื่องยนต์จะสูงกว่า ส่วนผสมหนาเซ็นเซอร์ก็แปลงสัญญาณไฟฟ้าออกมาและบอกค่าออกมาเป็นตัวเลขส่วนผสม ระหว่างอากาศกับน้ำมัน(A/F) 
ส่วนที่เราจะปรับแต่งคาร์บู หรือจูนน้ำมัน
-เข็มเร่ง จะมีเบอร์บอกอยู่ ความเรียวยาว - อ้วนป้อม ของเข็มมีผลหมดนะครับ และ สลักล๊อกเข็มเร่ง
-นมหนูเดินเบา(ตัวเล็ก)
-นมหนูกำลัง(ตัวใหญ่)
-สกรูปรับอากาศ (ช่วยแค่ตอนสตาร์ทกับรอบเดินเบา เห็นช่างแถวบ้านเบิ้ลๆเครื่อง แล้วก็จูน บอกว่าจูนแล้วแรงจริงๆแล้วไม่เห็นเกี่ยวเลย ถอดสกรูอากาศออกก็ขี่ได้ )
-ปากคาร์บู สัดส่วนความโตระหว่างปากคาร์บูเรเตอร์กับคอคอด  / ปากแตรก็เกี่ยวครับปากแตรสั้นจะจูนยากครับเพราะอากาศจะแปรปรวน(กระพือ)แต่ ถ้าจูนลงแล้วแรงกว่าปากยาว
-ลูกชักจะมีมุมตัดเป็นองศาลองสังเกตุดูตรงปากทางเข้าคาร์บู  องศานี้อันนี้ก็เกี่ยวกับส่วนผสม ถ้าองศาเอียงมากอันนี้ส่วนผสมจะหนาครับ ถ้าลาดไปเลยส่วนผสมจะบางครับ   มีผลระหว่างรอบกลาง กับรอบสูง(สังเกตุดูถ้าบิดหรือเร่งรอบกลางๆแล้วว๊อดๆอันนี้ก็เกี่ยวครับ
-jet หนูนมหนูพิเศษจะช่วยฉีดน้ำมันในรอบสูง(เป็นรูๆอยู่ด้านบนปากคาร์บูมีบางรุ่น ครับ เช่นคาร์บู ของรถtzr) เนื่องจากเมื่อลูกชักเลื่อนขึ้นสุดส่วนผสมจะบาง เพื่อป้องกันเครื่องกระจายคาร์บูเรเตอร์บางรุ่นจึงมีหนมหนูพิเศษหรือนม หนูjet ช่วย
จริงๆแล้วคาร์บูเรเตอร์ค่อนค่างละเอียดที่ไล่มายาวยืด ทางผู้ผลิตเค้าทำมาดีแล้วครับ ไม่ต้องไปยุ่งมัน เพราะค่อนค่างละเอียดอ่อนมาก แค่ไล่นมหนูก็เหนื่อยแล้วครับ ไม่เหมือนกับพวกหัวฉีดจูนในโน๊ตบุ๊คหนา-บาง สั่งได้ ไม่ต้องวิ่งทีรื้อคาร์บูมาเปลี่ยนนมหนูที กว่าจบจะเหงื่อตกครับ
ดังนั้นเมื่อเรามาจูนคาร์บู  เราก็จะจูนกันมั่วๆไม่ได้ นอกจากจะทดลองวิ่งจริง ถอดหัวเทียนมาดูการเผาไหม้ เราต้องมี A/F 
วัดระหว่างจูนด้วย  โดยเสียบไปที่ท่อไอเสียถ้าส่วนผสมหนา-บาง ก็จะมีไฟเตือนบอก    จะมีตัวเลขวิ่งบอกครับ จูนให้ได้14.7 ถือว่าใช้ได้

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยางรถจักรยานยนต์

เนื่องจากกำลังจะเปลี่ยนยางใหม่ก็เลยศึกษาหาความรู้สะหน่อย

ยางรถจักรยานยนต์


     โครงสร้างยางรถจักรยานยนต์ประกอบด้วย

                  1. ดอกยาง(Tread) หมายถึง ส่วนของยางนอก ซึ่งสัมผัสกับพื้นถนนมีลักษณะเป็นแนวยาวเส้นรอบวง(Tread rib) หรือเป็นบั้งขวางกับเส้นรอบวง หรือเป็นปุ่ม ๆ (Tread block) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้เหมาะกับการใช้งาน

                  2. แก้มยาง(Side wall)  หมายถึง   บริเวณผนังด้านนอกของยาง   ที่อยู่ระหว่างส่วนที่อยู่ระหว่างที่เป็นดอกยาง กับ ขดลวด

                  3. โครงยาง(Carcass)   หมายถึง  โครงสร้างภายในของยางนอก   ซึ่งประกอบด้วยชั้นผ้าใบไม่รวมถึงดอกยาง และแก้มยาง

                  4. ขอบลวด(Bead) หมายถึง ส่วนของยางนอกที่กระชับกับวงล้อเสริมความแข็งแรงด้วยลวดเหล็กกล้า

                  5. คอร์ด(Cord)   หมายถึง     ด้ายที่ทำด้วยเส้นใยหลายเส้นตีเกลียวเข้าด้วยกัน    ใช้สำหรับเป็นส่วนประกอบของ ชั้นผ้าใบ เบลอ์ เบรกเกอร์ ฯลฯ

                  6. ชั้นผ้าใบ(Ply)  หมายถึง  ชั้นของผ้าที่ทำด้วยคอร์ดไนลอน คอร์ดโพลิเอสเตอร์ หรือย่างอื่นแทรกอยู่
ในเนื้อยาง ซ้อนกันจากขอบลวดข้างนึ่งถึงขอบลวดอีกข้างนึ่ง

                  7. ผ้าเสริมหน้ายาง(Braker or Belt)  หมายถึง   ชั้นผ้าใบที่ตัดองศาพิเศษ ทำหน้าที่คล้ายกับเข็มขัด
ประกบบนโครงสร้างของหน้ายาง เพื่อเสริมความแข็งแรงของยางมากขึ้น

                  8. เนื้อยางด้านใน(Inner liner)   หมายถึง    ยางบางด้านใน   ใช้เฉพาะกับยางที่ไม่ใช้ยางในเท่านั้นทำหน้าที่เหมือนยางใน หรือเรียกยางชนิดนี้ว่า Tubeless

     การเรียกชื่อขนาดยางนอกและความหมายมี 2 แบบที่ใช้ในปัจจุบัน

     1. แบบเดิมหรือระบบอังกฤษ
   อธิบายขนาด และโครงสร้าง   ประกอบด้วย   ความกว้างของยางนอก เส้นผ่าศูนย์กลาง ระบุเป็นนิ้ว และอัตราชั้นผ้าใบ
     เช่น 2.50 – 17 4PR
     2.50 ความกว้างของยาง
     17 เส้นผ่าศูนย์กลางยางเท่ากับ 17 นิ้ว
     4PR อัตราชั้นผ้าใบเท่ากับ 4 หรือเทียบเท่ากับผ้าใบมาตรฐาน 4 ชิ้น

 
  
   


2. แบบเมริกซีรี่
   อธิบายขนาดและโครงสร้างประกอบด้วย ความกว้างของยางนอก ระบบมิลลิเมตร
     (เครื่องหมาย / อัตราส่วนลักษณะยาง และดัชนีการรับโหลดและสัญลักษณ์ความเร็ว)

     เช่น 80 / 90 - 17 49P

     80 ความกว้างของยาง
     90 อัตราส่วนลักษณะยาง % (ความสูงของยาง)
     17 เส้นผ่าศูนย์กลางยางเท่ากับ 17 นิ้ว
     49 ดัชนีน้ำหนัก “49” สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุด 185 กิโลกรัม
     P สัญลักษณ์ความเร็วระดับ P ใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง
   
     อธิบายเพิ่ม

     80/90-17 49P
    
     หมายความว่า
     ความกว้างของยางเท่ากับ 80 มิลลิเมตร
     ความสูงของยางเท่ากับ 72 มิลลิเมตร หรือเท่ากับ 90% ของหน้ายาง
 
 

    *ความกว้างของยางไม่ใช่หน้าสัมผัสถนน นะครับ*
*และแก้มยางก็คือความสูงซึ่งวัดจากกระทะล้อครับ*
ตารางเปรียบเทียบดัชนีการรับโหลด
ดัชนี   น้ำหนักรับได้                  
           กิโลกรัม                  
0            45                  
1            46.2                  
2            47.5                  
3            48.7                  
4            50                  
5            51                  
6            53                  
7            54.5                  
8            56                  
9            58                  
10          60                  
11          61.5                  
12          63                  
13          65                  
14         67                  
15         69                  
16         71                  
17         73                  
18         75                  
19         77.5                  
20         80                  
21         82.5                  
22         85                  
23         87.5                  
24         90                  
25         92.5                  
26         95                  
27         97.5                  
28       100                  
29       103                  
30       106                  
31       109                  
32       112                  
33       115                  
34       118                  
35       121                  
36       125                  
37       128                  
38       132                  
39       136                  
40       140                  
41       145                  
42       150                  
43       155                  
44       160                  
45       165                  
46       170                  
47       175                  
48       180                  
49       185                  
50       190                  
51       195                  
52       200                  
53       206                  
54       212                  
55       218                  
56       224                  
57       230                  
58       236                  
59       243                  
60       250                  
61       257                  
62       265                  
63       272                  
64       280                  
65       290                  
66       300                  
67       307                  
68       315                  
69       325                  
70       335                  
71       345                  
72       355                  
73       365                  
74       375                  
75       387                  
76       400                  
77       412                  
78       425                  
79       437                  
80       450                  
81       462                  
82       475                  
83       487                  
84       500                  
85       515                  
86       530                  
87       545                  
88       560                  
89       580                  
   

     ดัชนีสัญลักษณ์ความเร็ว

สัญลักษณ์ความเร็ว   กม. / ชม.
J                        100
K                        110
L                        120
M                        130
N                        140
P                        150
Q                        160
R                        170
S                        180
T                        190
U                        200
H                        210
V                        240


     หน้าที่ของยางรถจักรยานยนต์

     1. รักษาทิศทางของการขับขี่ได้อย่างต้องการ
     2. ลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนในการขับขี่
     3. รับน้ำหนักของรถจักรยานยนต์และน้ำหนักบรรทุก
     4. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดแรงม้าในการขับเคลื่

     การใช้งานอย่างถูกต้อง

     1. เติมลมให้พอดีกับยางแต่ละรุ่น
     2. ไม่ขับขี่ทับน้ำมัน และหลีกเลี่ยงพื้นที่ขรุขระ
     3. ไม่เบรคแบบรุนแรงและกระทันหัน
     4. ไม่ออกรถล้อฟรี หรือหมุนล้อฟรี
     5. ไม่ขับรถเร็วเกินไป

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติของรถจักรยานยนต์



เจมส์   วัตต์
     ในศตวรรษที่ 17 รถจักรยานยนต์คันแรกของโลกถือกำเนิดขึ้นมาในโลกแห่ง วิศวกรรม เกือบจะเป็นเวลาเดียวกับรถยนต์ที่ใช้พลังขับเคลื่อนแบบสันดาปภายในทั่วไป เพียงแต่ว่ารูปทรงในระยะแรกต้องอาศัยรถพ่วงเข้ามาเสริมบ้างอาศัยล้อที่ 3 เข้ามาช่วยบ้าง เพื่อการทรงตัวดีขึ้น 
โดยระยะแรกๆ นั้น เจมส์ วัตต์ ได้สร้างเครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาเป็นตัวต้นกำลัง ซึ่งมีชิ้นส่วนขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ขีดจำกัดในการใช้งานของเครื่องยนต์ ชนิดนี้จึงถูกนำไปใช้ในยานพาหนะขนาดใหญ่ 
เพื่อให้เกิดการสมดุลในน้ำหนักที่ค่อนข้างมากของตัวต้นกำลัง เช่นรถจักรไอน้ำที่เราคุ้นตามาแต่ยุคบุกเบิก หรือเรือกลไฟที่เราเคยใช้งานเพื่อขนถ่ยสินค้าตามลำน้ำกันนั่นเอง


ปี 1876 นิโคลัส ออตโต้ ( Nicolus Otto ) ได้คิดค้นหลักการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายในขึ้นมา โดยใช้หลักทางเทอร์โมไดนามิกส์ ซึ่งเรียกเป็นวัฏจักรทางความร้อน โดยใช้ชื่อว่า "วัฏจักรออตโต้ ( Otto Cycle )" โดยเขาได้คิดค้น "ระบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟ (แมกนีโต)" ซึ่งใช้เป็นหลักการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ สันดาปภายในโดยใช้ประกายไฟ (หัวเทียน) เป็นตัวจุดระเบิดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในระยะแรก ออตโต้ ได้ใช้เชื้อเพลิงแก๊ส และต่อมาได้พัฒนามาใช้เชื้อเพลิงเหลว ที่สามารถลดความยุ่งยากในระบบจ่ายเชื้อเพลิงลงได้ 
เครื่องยนต์ 4 จังหวะของออตโต้

 


 
ปี 1885 Gottlieb Daimler และ Karl Benz  
ได้นำพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีขนาดเล็กลง และสามารถติดตั้งในรถจักรยานใด้เป็นคันแรกของโลก
  



 และในปี 1879 – 1885 "คาร์ล เบนซ์ (Karl Benz)" ได้คิดค้นเครื่องยนต์ 2 จังหวะขึ้น

      ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์ขนาดเล็กเรื่อยมา เพื่อนำมาติดตั้งในพาหนะระดับย่อย และก็เริ่มได้จุดลงตัว โดย Mr. De Dion สามารถนำเอาเครื่องยนต์ แบบสูบเดี่ยว 4 จังหวะลงมาติดตั้งในรถ 3 ล้อขนาดเล็กได้สำเร็จโดยเครื่องยนต์ต้นแบบชุดนี้ ยังไม่มีคาบูเรเตอร์ แต่ใช้กรรมวิธีในการดึงเอาไอระเหยจากน้ำมันเบนซิน ป้อนเข้าไปในห้องเผาไหม้ในจังหวะดูด 

 
Robert Bosch
ส่วนผู้ที่สร้างระบบจุดระเบิดสำหรับใช้กระตุ้นจังหวะงานของหัวเทียน คือ 
Mr Robert Bosch ซึ่งต่อมาได้พัฒนาระบบไฟฟ้า ทุกชนิดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์จนกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของวงการรถยนต์และพาหนะเกือบทุกชนิดไปในปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงยุคปัจจุบัน 
ส่วนรถจักรยานยนต์ที่ใช้วงล้อเดี่ยวและสามารถผลิตลงสู่ตลาดโลกได้สำเร็จ เป็นผลงานคละเคล้าอยู่หลายประเทศ เช่น อังกฤษ เยอรมนี อิตาลี และฝรั่งเศษ ทางด้านประเทศเยอรมนี น่าจะเป็นผลงานของเดมเลอร์ และเบนซ์ ก่อนที่จะยุบตัวลงในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากต้องปรับผังของโรงงาน ออกมาสร้างยุทธปัจจัยต่างๆ เพื่อสนับสนุนกองทัพ ส่วนทางด้านอังกฤษ มีผลงานเด่นของ "Raleigh" ที่เริ่มผลิตรถจักรยานขายเป็นอุตสาหกรรมมาก่อน แล้วจึงนำเครื่องยนต์มาติดตั้งเอาไว้ที่แผงคอหน้ารถจักรยานในปี ค.ศ. 1899 ด้วยรูปทรงที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบในที่สุด
      

              จากยุค 1900 มาจนถึง 2004 นับเป็นเวลากว่า 100 ปีเศษ ที่วงการอุตสาหกรรมยานยนต์ก้าวเดินต่อมาด้วยแนวความคิดอันหลากหลาย ของวิศวกรหลายชาติ และหลายประเทศ รวมมาถึงชนชาติญี่ปุ่นหนึ่งเดียวในเอเชียที่เริ่มก้าวเข้าสู่วงการผลิตรถลง สู่ตลาดโลกในช่วงหลังของปี ค.ศ. 1950 ชื่อของรถจากประเทศญี่ปุ่น ก็เริ่มดับรัศมี แนวความคิดเดิมๆ ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของทวีปยุโรปลงอย่างสิ้นเชิงและแน่นอนว่าชื่อของ ฮอนด้า ยามาฮ่า ซูซูกิ และคาวาซากิ คือ 4 ในกระแสของความนิยมในระดับสูงสุดที่ยังเหลือผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ลงป้อนตลาด โลกอยู่เพียงไม่กี่แห่ง จากจำนวนเกือบ 100 ยี่ห้อที่มีการผลิตรถในยุคก่อน สงครามโลกครั้งที่สองจะสงบลง
      รถจักรยานยนต์สมัยแรกๆ ที่เข้ามาในประเทศไทย ได้แก่ บีเอ็มดับบลิว ฮาร์เลย์ เดวิดสัน ไทรอัมพ์ จนกระทั่งเมื่อรถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น เริ่มเข้าตลาดเมืองไทยจนปัจจุบันนี้ เราจะเห็นแต่รถจักรยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่นเป็นส่วนมาก ส่วนรถจักรยานยนต์จากประเทศยุโรป ก็ยังมีอยู่แต่มีราคาที่แพง กว่ามาก อะไหล่หายากจึงมีผู้สนใจเฉพาะผู้ที่รักรถจักรยานยนต์จากยุโรปจริงๆ และผู้ที่มีกำลังเงินในการซื้อเท่านั้น